โรคภัยไข้เจ็บ ตอนที่ 84 – มะเร็งต่อมลูกหมาก-มะเร็งปอด
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 18 กันยายน 2567
- Tweet
การแพร่กระจายไปยังกระดูกอาจทำให้เกิดอาการปวด, กระดูกหัก (Fracture), และระดับแคลเซียม (Calcium) ในเลือดสูงขึ้น (Elevated) แม้ว่าช่วงชีวิตจะ (Life span) ไม่เปลี่ยนแปลง คุณภาพ (Quality) ชีวิตอาจดีขึ้นอย่างมาก
การมีระดับ PSA สูงหรือปรกติเพียงอย่างเดียว (Single) อาจไม่มีประโยชน์มากนัก แต่การติดตาม (Track) ระดับ PSA ในช่วงระยะยาวอาจเป็นมาตรวัด (Metric) ที่มีค่า (Valuable) การทดสอบที่มีการรุกล้ำร่างกาย (Invasive) น้อยลง เพื่อติดตามระดับ PSA ที่สูงขึ้น เช่น การถ่ายภาพด้วยคลื่นสนามแม่เหล็ก (Magnetic resonance imaging: MRI) อาจมีประโยชน์ในการตรวจคัดกรอง (Screen) หรือวางแผนสำหรับการตัดชิ้นเนื้อ ซึ่งลดโอกาส (Potential) ความเสี่ยง
อย่างไรก็ตาม ขอเน้นว่าการพูดคุยกับแพทย์นั้นสำคัญ โชคดี (Fortunate) ที่มะเร็งต่อมลูกหมากโดยทั่วไปมีการอยู่รอดระยะยาวที่ดี และด้วยความก้าวหน้า (Advancement) ในการรักษา ทำให้อัตราการเสียชีวิตลดลงตั้งแต่คริสตทศวรรษ 1990s หวังว่าความก้าวหน้าทางการแพทย์จะยังคงปรับปรุงการพยากรณ์โรค (Prognosis) ในระยะลุกลาม (Advanced) มากขึ้น
มะเร็งปอด (Lung cancer) เป็นโรคที่รับผิดชอบ (Responsible) ต่อการเสียชีวิตของชาวอเมริกัน 142,080 คนในปี ค.ศ. 2018 นับเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับมะเร็ง (Cancer-related) ที่พบบ่อยที่สุด (Most common) ในสหรัฐอเมริกา จนกระทั่งเมื่อเร็วๆ นี้ก็ยังไม่มีวิธีการคัดกรอง (Screen) ที่ได้รับการสนับสนุน (Support) ว่ามีประโยชน์ (Benefit) เกินกว่า (Outweight) อันตราย (Harm)
ในปี ค.ศ. 2011 การทดลองการคัดกรองมะเร็งปอดแห่งชาติ (National Lung Screening Testing: NLST) ได้รายงานผลการค้นพบว่าการกวาดส่อง (Scan) CT (= Computed topography) ในปริมาณต่ำ (Low-dose) ประจำปี สามารถลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งปอดเมื่อเทียบกับการเอ็กซเรย์ทรวงอก (Chest X-ray) ประจำปี
ประชากร (Population) ที่ศึกษาเป็นเพียงผู้ป่วยที่มีประวัติสูบบุหรี่ (Smoking history) มากอย่างมีนัยสำคัญ (Significant) เท่านั้น ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (Center for Disease Control and Prevention: CDC), คณะทำงานป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกา (U.S. Preventive Services Task Force: USPSTF), และ สมาคมมะเร็งอเมริกัน (American Cancer Society: ACS) ได้แนะนำ (Recommend) ให้ตรวจคัดกรองมะเร็งปอดทุกปี
การตรวจคัดกรอง (Screen) ด้วยการกวาดส่อง (Scan) CT (=Computed tomography) แบบปริมาณรังสีต่ำ (Low dose) สำหรับบุคคล (Individual) ที่มีความเสี่ยง (Risk) สูง ต่อมะเร็งปอด (Lung cancer) เริ่มตั้งแต่อายุ 50 ปี ซึ่งรวมถึงผู้ที่สูบบุหรี่ (Smoker) ในปัจจุบัน (หรือผู้ที่เลิก [Quit] สูบบุหรี่ภายใน 15 ปีที่ผ่านมา) ที่มีประวัติการสูบบุหรี่ 1 ซอง (Pack) ต่อวัน เป็นเวลา 1 ปี พวกเขาเลือกประชากรกลุ่ม (Population) นี้เพราะการสูบบุหรี่มีความสัมพันธ์ (Association) อย่างมากกับวิวัฒนาการ (Development) ของมะเร็งปอด
แหล่งข้อมูล –